วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2561

STEM/STEAM

 STEM/STEAM

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

   สำหรับดิฉัน STEM/STEAM ถือเป็นแนวคิดปละรูปแบบใหม่ในการจัดการเรียนการสอนของครูในยุคปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการบูรณาการสาระการเรียนรู้ต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะมากยิ่งขึ้น การบูรณานั้นเป็นการเน้นนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ นอกเหนือจากการคิดวิเคราะห์ และช่วยฝึกการใช้สมองทั้งสองซีกไปพร้อมๆกันเพื่อให้เกิดกระบวนการคิดที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 STEM
       คำว่า “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน คำว่า STEM ถูกใช้ ครั้งแรกโดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (the National Science Foundation: NSF) ซึ่งใช้คำนี้เพื่ออ้างถึงโครงการหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตามสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้นิยามที่ชัดเจนของคำว่า STEM มีผลให้มีการใช้และให้ความหมายของคำนี้แตกต่างกันไป (Hanover Research, 2011, p.5) เช่น มีการใช้คำว่า STEM ในการอ้างอิงถึงกลุ่มอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
       สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้
       การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ 5 ประการได้แก่
 (1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ 
(2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ
 (3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 
(4) ท้าทายความคิดของนักเรียน 
(5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน
STEAM
       ตัว A ที่เราจะแนะนำให้รู้จักก็คือ ART อีกหนึ่งสาขาวิชาที่ถูกนำมาเป็นทักษะเพิ่มเข้าไปใน STEM แน่นอนว่าเราคงได้ครบองค์ความรู้กันแน่ ๆ ทั้งศาสตร์และศิลป  ด้วยความก้าวหน้าสู่สังคมในศตวรรษที่ 21 ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราหวังพึ่งเยาวชนในวันนี้ให้เป็นกำลังสำคัญของประเทศ แน่นอนกระบวนการเรียนรู้และการบูรณาการทางการศึกษาต่าง ๆ เกิดขึ้นมาเพื่อให้เป็นเครื่องมือสร้างสรรค์และฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ให้เยาวชนเหล่านี้ให้เป็นผู้ที่มีความเก่ง ฉลาด ทั้งทางด้านศาสตร์และศิลปอย่างเต็มรูปแบบ STEM/STEAM EDUCATION คือเครื่องมือสำคัญที่เรานำมาใช้กับเยาวชนในยุคนี้ ถ้าว่าไปแล้ว STEAM Education ก็เป็นแนวคิดการศึกษาที่ต่อยอดไปจากการศึกษาแบบ STEM นั้นเอง ซึ่งในการบูรณาการกิจกรรมหรือการศึกษาต่าง ๆ จะมีลักษณะที่เชื่อมโยงกัน การบูรณาการด้านความรู้ทางวิทย์ คณิต เทคโนโลยี และวิศวกรรม มีความสำคัญ หากแต่จะดียิ่งขึ้นถ้ามีศิลปะช่วยเสริมเรื่องความคิดสร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจ ความสุขในการเรียนรู้ สู่การเติบโตอย่างสมดุล การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ด้วยความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) อาจนำไปสู่วินัยในการเป็นนักวิทยาศาสตร์ และเพิ่มพูนทักษะในการแก้ปัญหา หายเรามองย้อนกลับไปกระบวนการทาง STEM ในหลาย ๆ กิจกรรม จะมีกระบวนการที่ต้องใช้ทักษะความคิดและการออกแบบ อาทิเช่น การทำบัวลอยก็จะมีการให้ปั้นลูกบัวลอยตามรูปร่างที่อาจจะจินตนาการเป็นรูปทรงต่าง ๆ การทำว่าวก็มีการให้ออกแบบโครงหรือตัวว่าวเป็นตัวต่าง ๆ เป็นต้น
       มีข้อมูลกล่าวถึงว่า คนเราแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ พวกใช้สมองข้างซ้าย (left-brained) ซึ่งมีความถนัดทางด้านการคิดการคำนวณ หรือกล่าวคือพวกถนัดทักษะทางด้าน STEM ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นหมอ วิศวะ นักวิทยาศาสตร์ กับ พวกใช้สมองข้างขวา (right-brained) ซึ่งจะถนัดอะไรที่ต้องใช้จินตนาการกับความคิดสร้างสรรค์ เหมาะที่จะเป็นศิลปิน นักการศึกษาที่เชี่ยวชาญด้านนี้มองว่า นักประดิษฐ์ หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคนจากทั่วทุกมุมโลก ไม่ใช่เพียงมีแค่นักวิทยาศาสตร์ แต่ยังมีนักศิลปะด้วย การบูรณาการทั้ง 4 (ทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์) + 1(ทักษะทางศิลปะ) จะทำให้เกิดความคิดแบบองค์รวม (Holistic Way)
       ถ้าจะให้สรุปกันแบบเข้าใจง่าย ๆ เลยก็คือ การฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์โดยใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการบูณาการ พร้อม ๆ ไปกับการบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่กันไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Kahoot กับการจัดการเรียนรู้

การนำ Kahoot มาใช้ในการจัดการเรียนรู้       โปรแกรม Kahoot นั้นสำหรับดิฉัน  ถือเป็นโปรแกรมที่น่าสนใจมากเหมาะสำหรับกระตุ้นและดึงดูดค...