วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

Kahoot กับการจัดการเรียนรู้

การนำ Kahoot มาใช้ในการจัดการเรียนรู้



      โปรแกรม Kahoot นั้นสำหรับดิฉัน  ถือเป็นโปรแกรมที่น่าสนใจมากเหมาะสำหรับกระตุ้นและดึงดูดความสนใจของผู้เรียน นอกจากนั้น ยังมีวิธีการใช้งานที่ง่าย และสะดวกหากพูดถึงการนำมาประยุกต์ใช้ในส่วนของการจัดเรียนการสอนถือว่าโปรแกรมนี้ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นและให้ความสนใจในการเรียนได้เป็นอย่างดี ผู้สอนสามารถสร้างตัวแบบทดสอบและกำหนดเวลาได้ด้วยตนเอง เป็นโปรแกรมที่เป็นลักษณะของเกมส์ทำให้เกิดความสนุสนานในการเรียน แต่ถ้าพูดถือข้อเสียแล้วตัวโปรแกรมนี้จำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อ หากไม่มีอินเทอร์หรืออินเทอร์เน็ตขัดข้องโปรแกรมนี้อาจไม่เหมาะกับการเรียนการสอนมากนัก
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใข้ Kahoot
ใช้สื่อการสอน Kahoot เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน รายวิชาโปรแกรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น เพื่อช่วยทำให้ผู้สอนได้เข้าใจผู้เรียน ในขณะเดียวกันจะรับทราบผลการสอนของตนเองตามความคิดเห็นของนักเรียน
ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรายวิชารายวิชาโปรแกรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นหรือ สามารถนำปรับใช้กับรายวิชาอื่นๆ อีกด้วย

Kahoot! เป็นเครื่องมือที่ใช้กับระบบสารสนเทศที่ช่วยในการประเมินผู้เรียนผ่าน Smart Phone โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนอัจฉริยะ และการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 คือการส่งเสริมให้ ผู้เรียนมีทักษะด้านการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร และมีทักษะการเรียนรู้ โดยข้อจำกัดของโปรแกรม Kahoot คือต้องมีสัญญาณ Internet

ขั้นตอนการสมัครและใช้บริการ Kahoot
ขั้นตอนการสมัครใช้ Kahoot


1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://getkahoot.com/ จะได้หน้าเว็บดังรูป



2. การสมัครใช้บริการเลือกที่ Manu bar ชื่อ Sign up for free! ดังรูป



3. เมื่อทำการคลิกเลือกที่ Manu bar ชื่อ Sign up for free! จะปรากฏหน้าเว็บดังรูป



- ทำการเลือกหน้าที หรือบทบาทหน้าที่ของคุณ (ในที่นี้เลือกบทบาทหน้าที่เป็น “I’m a teacher”)
4. เมื่อเลือกบทบาทหน้าที่ของคุณแล้ว ปรากฏหน้าเว็บเพิ่มเติมดังรูป


- ส่วนที่ 1 เลือกบทบาทหน้าที่ ในส่วน School or University ไม่จำเป็นต้องกรอกก็ได้
- ส่วนที่ 2 รายละเอียดบัญชีของคุณ
2.1. Username ใส่เป็นชื่อ...อะไรก็ได้...โดยที่ Username สามารถใช้log in ร่วมกับ E-mail ได้
2.2. E-mail ใส่เป็นอีเมลของคุณ
2.3. Confirm Email ใส่อีเมลของคุณอีกรอบ
2.4. Password ใส่ตัวหนังสือ อักษรตัวใหญ่ขึ้นต้น 1 ตัวอักษรแล้วตามด้วยตัวอักษรตัวเล็ก และตัวเลข โดยรวมๆ แล้วต้องมี 6 ตัวขึ้นไป

- หลังจากกรอกข้อมูลครบแล้วก้ทำการคลิกที่ “Create Account” จะปรากฏหน้าเว็บดังรูป

5. เมี่อทำการสมัคร Kahoot เรียบร้อยแล้ว จะได้หน้าเว็บในส่วนของการสร้างแบบทดสอบของ kahoot โดยที่ kahoot สามารถสร้างแบบทดสอบได้ 3 แบบ ดังนี้




1. สร้างแบบทดสอบ เป็นลักษณะการสร้างแบบทดสอบเป็นคำถาม โดยใช้ตัวอักษร หรือรูปภาพแทนคำตอบ หรือการตั้งคำถามได้
2. สร้างเป็นแบบสนทนา เป็นลักษณะการพิมพ์ผ่านช่องทางการ Chat
3. เป็นการสร้างแบบสอบถามหรือสำรวจ ความพึงพอใจด้านต่าง ร่วมถึงสามารถแสดงคาวมคิดเห็นผ่านการสำรวจได้

6. ในที่นี้เลือกเป็นการสร้างแบบทดสอบ จะปรากฏหน้าเว็บดังรูป

เพิ่มคำอธิบายภาพ
- จะประกอบไปด้วย
1. ส่วนหัวของกลุ่มคำถาม (Title)
2. คำอธิบายของกลุ่มคำถาม (ไม่ใส่ก็ได้)
3. รูปภาพประกอบของกลุ่มคำถาม (ถ้ามี)
4. ความสามารถในการมองเห็น
5. ภาษาที่ใช้
6. รูปแบบผู้ชม
7. แหล่งข้อมูลอ้างอิง (ถ้ามี)
8. วิดีโอที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

7. เมื่อกรอกข้อมูลครบตามที่กำหนด แล้วกด Ok, go จะได้หน้าเว็บดังรูป


- กดเลือก Add Question จะปรากฏข้อมูลเพิ่มเติมดังรูป



- จะประกอบไปด้วย
1. ชื่อคำถาม (Title)
2. เวลาที่ใช้ในการทำข้อสอบ มีให้เลือกตั้งแต่ 5 – 120 วินาที
3. รูปภาพหรือสื่อวีดีโอประกอบของคำถาม (ถ้ามี)
4. ตัวเลือกของคำตอบ (Answer) ต้องมีอย่างน้อย 2 คำตอบ พร้อมเลือกเครื่องหมายถูก ในข้อที่จะให้ถูกในคำตอบนั้น
5. แหล่งข้อมูลอ้างอิง (ถ้ามี)

8. เมื่อกรอกข้อมูลครบตามที่กำหนด แล้วกด Next จะได้หน้าเว็บดังรูป

- จะปรากฏคำถามที่ได้ตั้งไปเมื่อสักครู สามารถทำการสร้างแบบทดสอบเพิ่มเติมได้ ถ้าทำการสร้างแบบทดสอบเสร็จแล้ว หรือต้องการบันทึกแบบทดสอบก็ทำการเลือก Mane bar ที่คำว่า Save จะปรากฏหน้าเว็บดังรูป

- จะประกอบไปด้วย
1. แก้ไขแบบทดสอบ
2. ดูตัวอย่างของแบบทดสอบที่ทำการสร้างไป
3. เล่น
4. แบ่งปันแบบทดสอบ


ขั้นตอนการใช้บริการ Kahoot
1. ทำการเริ่มแบบทดสอบที่สร้างในที่นี้แบบทดสอบชื่อ ICT จะปรากฏหน้าเว็บดังรูป






- จะประกอบไปด้วย
1. เลือกการทำแบบทดสอบเป็นแบบ 1 : 1
2. เลือกการทำแบบทดสอบเป็นแบบกลุ่ม
2. ในที่นี้เลือกการทำแบบทดสอบเป็นแบบ 1 : 1 จะปรากฏหน้าเว็บดังรูป (หลังจากเลือกรูปแบบการทำแบบทดสอบแล้ว กรุณารอสักครูเพื่อให้ระบบสร้าง รหัสเข้าเกมส์)



- จะประกอบไปด้วย
1. รหัสสำหรับเข้าเกมส์ หน้าที่มีรหัสเข้าเกมส์จะปรากฏที่เครื่องของผู้ที่จะทำการเรื่อมทำแบบทดสอบ
2. เมื่อมีรหัสเข้าเกมส์ปรากฏแล้ว ผู้ที่จะเริ่มทำแบบทดสอบสามารถนำรหัสไปแสดงให้ผู้เข้าร่วมทำแบบทดสอบกรอกที่อุปกรณ์ของตน เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บแล็ต โน้ตบุ๊ค
3. ในส่วนของผู้ทำแบบทดสอบสามารถเข้าร่วมทำแบบทดสอบได้โดยเข้า Web Browser พิมพ์ https://kahoot.it/#/ จะปรากฏหน้าเว็บดังรูป



รูปในส่วนของการเข้าร่วมทำแบบทดสอบผ่านคอมพิวเตอร์



รูปในส่วนของการเข้าร่วมทำแบบทดสอบผ่านโทรศัพท์มือถือ
4. ทำการกรอกรหัสเข้าร่วมทำแบบทดสอบ ที่ช่อง Game PIN แล้วกด Enter ดังรูป



5. เมื่อทำการกด Enter เรียบร้อบจะปรากฏหน้าต่างให้กรอก ชื่อแล้วของผู้ทำแบบทดสอบ “Nickname”


6. หน้าเว็บของผู้ที่จะให้ทำแบบทดสอบจะปรากฏชื่อของผู้เข้าร่วมทำแบบทดสอบ ดังรูป




- เมื่อผู้ที่จะให้ทำแบบทดสอบดูแล้วว่าจำนวนผู้ร่วมทำแบบทดสอบครบตามที่กำหนด ก็ทำการคลิกปุ่มเริ่ม Start

7. เมื่อกดเริ่มเกมส์แล้วจะปรากฏหน้าต่างเตรียมตัวเริ่มทำแบบทดสอบ

8. หน้าต่างของผู้ให้ทำแบบทดสอบจะปรากฏข้อคำถามดังรูปซ้ายมือ และหน้าต่างของผู้ร่วมทำแบบทดสอบจะปรากฏสัญลักษณ์รูปทรงเลขาคณิตที่จะแทนคำตอบที่จะแสดงบนหน้าจอของผู้ให้ทำแบบทดสอบดังรูปขวามือ
9. เมื่อผู้ร่วมทำแบบทดสอบตอบคำถามถูกจะปรากฏคะแนน (คะแนนในทีนี้ให้ตามช่วงเวลาที่ผู้ร่วมตอบแบบสอบถามช้าเร็วต่างกัน) แต่ทางฝังหน้าของผู้ให้ทำแบบทดสอบจะปรากฏคะแนนของผู้เลือกตอบคำถามข้อใดบ้าง


10. และเมื่อผู้ที่ให้ทำแบบทดสอบคลิก Next จะปรากฏชื่อและคะแนนของผู้ตอบถูก 5 อันดับเท่านั้น

11. เมื่อทำการทำแบบทดสอบจนหมดชุด หน้าจอของผู้ให้ทำแบบทดสอบจะปรากฏคะแนน 5 อันดับที่มีคะแนนสูงสุด และหน้าจอของผู้ร่วมทำแบบทดสอบจะปรากฏลำดับของการทำแบบทดสอบของตนว่าอยู่ในลำดับที่เท่าไร




แหล่งข้อมูล : http://www.oknation.net
                    :  http://learning-kahoot.blogspot.com


การสร้าง Blog ด้วย Blogger

การสร้าง Blog ด้วย Blogger



     การสร้าง Blog ด้วย Blogger ถือเป็นเคื่องมือหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากมีวิธีการใช้งานที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน เหมาะแก่การสร้างบทความหรือรวบรวมข้อมูลเนื้อหาต่างๆ Blogger มีความน่าสนใจมากมายที่สีสันของธีม รูปแบบหน้าเว็บ สามารถกระตุ้นและดึงดูดความสนใจของผู้ใช้งานออนไลน์ให้เข้ามาเยี่ยมชมของ Blog ของเราได้ การนำ Blogger มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนนั้น เหมาะแก่การจัดทำบทเรียน เนื้อหาความรู้ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาหาความรู้นอกเหนือจากตำราเรียนได้ 

ประโยชน์ของ Blog 
ประโยชน์ของ Blog นั้นมีมากมาย จะขอแยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

1. เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คน สาธารณะได้รับรู้

2. เป็นเครื่องมือช่วยในด้ารธุรกิจ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร การเสนอตัวอย่างสินค้า การขายสินค้า และการทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น

3. เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้มีความรู้เฉพาะด้านๆ นั้น เนื่องจากผู้เขียน Blog มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน Blog ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น

4. ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ


ขั้นตอนในการสร้าง Blog


ขั้นตอนที่ 1. เข้า https://www.blogger.com/ กรอก Email Password เสร็จแล้ว กดลงชื่อเข้าใช้


ขั้นตอนที่ 2. จะเลือก โปรไฟล์ google+ หรือ blogger ก็ได้ครับ สมมติว่าเรา เลือก Blogger เป็นตัวอย่าง


ขั้นตอนที่ 3. หลังจากนั้น เลือก บล๊อคใหม่ คลิกตามรูปเลยครับ


ขั้นตอนที่ 4. หัวข้อ ให้ใส่ชื่อเรื่องที่เราจะสร้างบทความ ที่อยู่ คือ ตั้งชื่อเว็บของเราเอง ส่วนด้านล่างเป็น รูปแบบ ของบล๊อค ที่เรากำลังจะสร้างขึ้นมาครับ เลือกตามสบายเลย เสร็จแล้วกด สร้างบล๊อค


ขั้นตอนที่ 5. จากนั้น คลิกเลือก บทความใหม่


ขั้นตอนที่ 6. ใส่เนื้อหาบทความ อย่าลืมใส่ tag ให้ google ตามหาเราเจอด้วยนะครับ เสร็จแล้วกด เผยแพร่ ก็เป็นอันเสร็จแล้วครับ


ขั้นตอนที่ 7. กด ดูบล๊อค ครับ นี้คือตัวอย่าง http://poprealmlm.blogspot.com/



ที่มา : https://poprealmlm.wordpress.com

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

Flipped Classroom

"ห้องเรียนกลับด้าน" 
(Flipped Classroom)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ "ห้องเรียนกลับด้าน" (Flipped Classroom)

       "ห้องเรียนกลับด้าน" (Flipped Classroom) สำหรับดิฉันถือเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง เนื่องจากผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ศึกษาหาความรู้ต่างๆได้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้และแนวคิดใหม่ๆ มากกว่าการเรียนเพียงแค่ในห้องเรียน และสามารถลดจำนวนนักเรียนที่หยุดเรียนในชั้นเรียนนั้นๆ และช่วยเพิ่มเนื้อหาสาระจากที่นักเรียนได้เรียนรู้ด้วย หลายคนให้ความเห็นว่า "ห้องเรียนกลับด้าน" อาจส่งผลเสียต่อนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

       "ห้องเรียนกลับด้าน" (Flipped Classroom) เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ โดยให้นักเรียน "เรียนที่บ้าน-ทำการบ้านที่โรงเรียน" ปัจจุบัน กระแส "ห้องเรียนกลับด้าน" เป็นที่นิยมอย่างมากในสหรัฐอเมริกา และในปีการศึกษา พ.ศ. 2556 นี้ ชั้นเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของไทยก็จะนำแนวคิด "ห้องเรียนกลับด้าน" มาใช้ด้วยเช่นกัน
       แนวคิดหลักของ "ห้องเรียนกลับด้าน" คือ "เรียนที่บ้าน-ทำการบ้านที่โรงเรียน" เป็นการนำสิ่งที่เดิมที่เคยทำในชั้นเรียนไปทำที่บ้าน และนำสิ่งที่เคยถูกมอบหมายให้ทำที่บ้านมาทำในชั้นเรียนแทน โดยยึดหลักที่ว่า เวลาที่นักเรียนต้องการพบครูจริงๆ คือ เวลาที่เขาต้องการความช่วยเหลือ เขาไม่ได้ต้องการให้ครูอยู่ในชั้นเรียนเพื่อสอนเนื้อหาต่างๆ เพราะเขาสามารถศึกษาเนื้อหานั้นๆ ด้วยตนเอง
       ถ้าครูบันทึกวิดีโอการสอนให้เด็กไปดูเป็นการบ้าน แล้วครูใช้ชั้นเรียนสำหรับชี้แนะนักเรียนให้เข้าใจแก่นความรู้จะดีกว่า ใน "ห้องเรียนกลับด้าน" ครูจะแจกสื่อให้เด็กไปศึกษาล่วงหน้าที่บ้าน เมื่อมาเข้าชั้นเรียนในวันรุ่งขึ้น นักเรียนจะซักถามข้อสงสัยต่างๆ จากนั้นก็ลงมือทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มโดยมีครูคอยให้คำแนะนำตอบข้อสงสัย "ห้องเรียนกลับด้าน" เป็นการเข้าใกล้การจัดการเรียนการสอนแบบ “เด็กเป็นศูนย์กลาง” (Child-center education) มากขึ้น ที่สำคัญช่วยแก้ปัญหาเรื่องการบ้านได้ด้วย
       "ห้องเรียนกลับด้าน" เป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน เป็นรูปแบบการเรียนที่มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาการสอนในชั้นเรียนอย่างเต็มที่ ครูจะมีเวลาใกล้ชิดกับนักเรียนมากขึ้นแทนที่จะใช้เวลาในการสอนหนังสือเพียงอย่างเดียว โดยครูมักบันทึกวิดีโอการสอนให้เด็กไปดูนอกชั้นเรียนแทนในห้องเรียนแบบเก่า ครูจะให้นักเรียนกลับไปอ่านตำราเองที่บ้านแล้วค่อยนำเนื้อหาต่างๆ ที่อ่านมาอภิปรายกันในวันถัดไป จากนั้นนักเรียนจะได้รับการบ้านที่ใช้วัดความเข้าใจต่อหัวข้อการเรียนนั้นๆ แต่ในการเรียนการสอนแบบ แบบ "ห้องเรียนกลับด้าน" นักเรียนจะเรียนรู้หัวข้อต่างๆ ด้วยตนเองก่อน โดยใช้วิดิโอการสอนที่ครูเป็นผู้ทำกลับไปศึกษาเองที่บ้าน จากนั้นในชั้นเรียนนักเรียนจะพยายามนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ในการทำงานและแก้ปัญหาต่างๆ ในชั้นเรียน
       ดังนั้น งานหลักของครูคือการสอนนักเรียนเมื่อไม่เข้าใจ มากกว่าที่จะเป็นคนบอกเล่าเนื้อหาการเรียนเพียงอย่างเดียว การเรียนการสอนเช่นนี้ทำให้สามารถนำการจัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างของผู้เรียน (Differentiate Instruction)และการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning : PBL) มาใช้ในชั้นเรียนได้ด้วย การเรียนการสอนแบบ "ห้องเรียนกลับด้าน" ทำให้ครูมีเวลาชี้แนะนักเรียนและช่วยนักเรียนสร้างสรรค์แนวคิดต่างๆ ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังลดจำนวนนักเรียนที่หยุดเรียนในชั้นเรียนนั้นๆ และช่วยเพิ่มเนื้อหาสาระจากที่นักเรียนได้เรียนรู้ด้วย หลายคนให้ความเห็นว่า "ห้องเรียนกลับด้าน" อาจส่งผลเสียต่อนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้นอกโรงเรียน อย่างไรก็ตามครูหลายท่านก็แก้ปัญหานี้ได้ด้วยการแจก CDs หรือเตรียม Thumb drives ที่มีไฟล์วิดีทัศน์ให้นักเรียน

แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ EngVid.com


แหล่งเรียนรู้ออนไลน์



     แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษนั้นมีมากมาย แต่สำหรับดิฉันนั้นเว็บไซด์ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ EngVid.com เป็นเว็บไซด์ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ผู้เรียนสามารถเลือกระดับความสามารถในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา มีวีธีการสอนที่หลากหลายทำให้เวลาเรียนแล้วรู้สึกไม่น่าเบื่อ ในเว็บไซด์มีหมวดหมู่ให้เราสามารถเลือกเรียนได้ด้วยตนเอง ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ

คุณสมบัติ

EngVid.com ห้องเรียนเสมือนจริง ถือเป็นเว็บไซต์ยอดฮิต สำหรับเว็บไซต์เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
EngVid.com คุณสมบัติพิเศษของเว็บนี้อยู่ตรงที่ผู้เรียนสามารถเลือกระดับความสามารถในการเรียนรู้ของตนเองได้ เช่น
- สำหรับผู้เริ่มต้น Beginner
- ระดับปานกลาง Intermediate
- ระดับสูง Advance

นอกจากนี้ยังเลือกหัวเรื่องที่สนใจ หรือต้องการเรียนรู้ อีกทั้งสามารถเลือกครูผู้สอน ซึ่งมีทั้งหมด 10 คน โดยแต่ละคนจะมีสไตล์การสอนและเทคนิคการสอนที่แตกต่างกัน  ในส่วนหัวข้อการเรียนนั้นเว็บไซต์ EngVid.com แยกเป็นหมวดหมู่ให้ง่ายต่อการเรียนรู้ เช่น 


  • หมวดภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ 
  • หมวดการพูด การอ่าน การเขียน 
  • หมวดวัฒนธรรมภาษา 
  • หมวดไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ 
  • หมวดคำสแลง 
  • เทคนิคการทำข้อสอบวัดระดับ Toefl และ Toeic
โดยแต่ละคลิปจะมีอาจารย์ผู้สอนมาให้ความรู้และเทคนิคการใช้ภาษา ผ่านกระดานไวท์บอร์ด จึงทำให้ผู้เรียนออนไลน์มีความรู้สึกเสมือนเรียนในห้องเรียนจริงๆ  นอกจากนี้หลังจากเรียนผ่านวีดีโอแล้ว ยังสามารถทำแบบฝึกหัดหลังเรียนได้ โดยทางเว็บไซต์จะมี Quiz ย่อย ให้ทำเพื่อเพิ่มความเข้าใจต่อหัวเรื่องที่เรียนนั้นๆ และมีการเฉลยข้อที่ถูกต้องและให้คะแนนสำหรับการทำแบบทดสอบ ซึ่งหากผู้เรียนมีข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจเนื้อหาที่เรียนนั้น ทางเว็บไซต์เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถส่งข้อสงสัยผ่านทางอีเมล์ได้
*****ปัจจุบันมีคลิปวีดีโอทั้งหมดจำนวน 791 คลิป 

ตัวอย่างหน้าเว็บ




บทเรียน Google sites

บทเรียน Google sites


       สำหรับดิฉัน Google Sites เป็นโปรแกรมออนไลน์ที่ทำให้การสร้างเว็บไซต์ให้ง่ายขึ้นเหมือนกับการแก้ไขเอกสารธรรมดาๆด้วย Google Sites สามารถรวบรวมความหลากหลายของข้อมูลในที่เดียว เช่น รวมวิดีโอ ปฏิทินการนำเสนอ เอกสารหรือสิ่งที่แนบ และข้อความ อำนวยความสะดวกให้คุณร่วมกันดู หรือแก้ไขหน้าเว็บ จะเป็นกลุ่มเล็กๆ หรือทั้งองค์กรของคุณ หรือจะทั้งโลกเลยก็ได้ การนำ Google site มาประยุกต์ในการเรียนการสอนนั้นเหมาะแก่การสร้างบทเรียนออนไลน์ให้ผู้เรียนได้เข้าไปศึกษาค้นคว้าหรือเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ดังนั้นการออกแบบ Google site นั้นอาจช่วยในการกระตุ้นการเรียนรู้และดึงดูดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้


 รู้จักกูเกิ้ลไซต์ (Google Sites)
  • Google Sites ให้บริการครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2551
  • สร้างเว็บไซต์ได้สุดแสนจะง่ายดาย ใช้เวลากี่นาทีก็โชว์ผลงาน
  • ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษาเขียนเว็บ (HTML) ให้ปวดหัว แค่ใช้เวิร์ดพิมพ์งานเป็นก็เริ่มได้เลย แถมเมนูเป็นภาษาไทยอีกต่างหาก
  • มีแบบเทมเพลตสำเร็จรูปให้เลือกมากมาย คล้ายๆ กับแบบสำเร็จเพาเวอร์พอยต์
  • สามารถแชร์เว็บให้เพื่อนๆ ร่วมสร้างสรรค์ได้
  • เป็นระบบที่ครอบคลุม เอามาใช้ด้วยกันได้เลย เช่น อีเมล์ (Gmail) ปฏิทิน (Calendar) เอกสาร (Documents) ยูทูบ (YouTube) อัลบั้มภาพ (Picasa) แผนที่ (Map) ฯลฯ
คุณสมบัติของ Google Sites:
  • กาหนดรูปลักษณ์ของเว็บไซต์ของคุณ
  • สร้างเพจย่อยเพื่อให้เนื้อหาของคุณน่าสนใจ
  • เลือกประเภทเพจ, เว็บเพจประกาศ, ตู้เก็บเอกสาร
  • ให้เนื้อหาในเว็บของคุณ เช่น วิดีโอ, เอกสารออนไลน์, Picasa แสดงสไลด์ภาพถ่าย, gadgets Google และไฟล์แบบออฟไลน์ในตำแหน่งกลางหนึ่ง
  • ให้เว็บไซต์ของคุณเป็นส่วนตัวหรือสาธารณะตามที่คุณต้องการ
  • ค้นหาใน Google เนื้อหาของเว็บไซต์ที่มีเทคโนโลยีการค้นหา Google
  • เรียนรู้พื้นฐานของ Google เว็บไซต์และเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ของคุณเองการใช้งานGoogle site
  • Google Sites เป็นแอปพลิเคชันออนไลน์ที่ทาให้การสร้างเว็บไซต์ของทีมกลายเป็นเรื่องง่าย
  • แก้ไขเอกสาร เมื่อใช้ Google Sites ผู้คนสามารถรวบรวมข้อมูลที่หลากหลายไว้ในที่เดียวได้อย่างรวดเร็ว ได้แก่ วิดีโอ ปฏิทิน งานนำเสนอ ไฟล์แนบ และข้อความ และสามารถใช้งานร่วมกับกลุ่มเล็กๆ ทั้งองค์กรหรือทั้งโลก เพื่อดูหรือแก้ไขได้อย่างง่ายดาย
  • Free Accountไว้ที่100 MB
  • จำนวนหน้าเว็บเพจไม่จำกัดการใช้งาน Google site
ข้อจำกัด
  • พื้นที่จัดเก็บ 10 Gb* (GB=กิกะไบต์)
  • ยังมีปัญหาเรื่องการใช้งานร่วมกับ script อื่นๆ
  • เว็บไซต์อยู่ภายใต้ Google ทำให้ domain name ยาว
  • ทำได้เฉพาะเมื่อต่ออินเตอร์เน็ตเท่านั้น
  • ขนาดไฟล์สูงสุด 10 MB (MB=เมกกะไบต์)
* เฉพาะพื้นที่เว็บไซต์ไม่เกิน 100 MB แต่หากรวมเป็นสมาชิกบริการอื่นๆ ของกูเกิ้ลตัวอื่นๆ เช่น ยูทูบ
( YouTube), ไดร์ฟ (Drive), ปฏิทิน (Calendar), อัลบั้มภาพ (Picasa) แล้วไม่เกิน 10 GB

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2561

STEM/STEAM

 STEM/STEAM

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

   สำหรับดิฉัน STEM/STEAM ถือเป็นแนวคิดปละรูปแบบใหม่ในการจัดการเรียนการสอนของครูในยุคปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการบูรณาการสาระการเรียนรู้ต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะมากยิ่งขึ้น การบูรณานั้นเป็นการเน้นนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ นอกเหนือจากการคิดวิเคราะห์ และช่วยฝึกการใช้สมองทั้งสองซีกไปพร้อมๆกันเพื่อให้เกิดกระบวนการคิดที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 STEM
       คำว่า “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน คำว่า STEM ถูกใช้ ครั้งแรกโดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (the National Science Foundation: NSF) ซึ่งใช้คำนี้เพื่ออ้างถึงโครงการหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตามสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้นิยามที่ชัดเจนของคำว่า STEM มีผลให้มีการใช้และให้ความหมายของคำนี้แตกต่างกันไป (Hanover Research, 2011, p.5) เช่น มีการใช้คำว่า STEM ในการอ้างอิงถึงกลุ่มอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
       สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้
       การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ 5 ประการได้แก่
 (1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ 
(2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ
 (3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 
(4) ท้าทายความคิดของนักเรียน 
(5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน
STEAM
       ตัว A ที่เราจะแนะนำให้รู้จักก็คือ ART อีกหนึ่งสาขาวิชาที่ถูกนำมาเป็นทักษะเพิ่มเข้าไปใน STEM แน่นอนว่าเราคงได้ครบองค์ความรู้กันแน่ ๆ ทั้งศาสตร์และศิลป  ด้วยความก้าวหน้าสู่สังคมในศตวรรษที่ 21 ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราหวังพึ่งเยาวชนในวันนี้ให้เป็นกำลังสำคัญของประเทศ แน่นอนกระบวนการเรียนรู้และการบูรณาการทางการศึกษาต่าง ๆ เกิดขึ้นมาเพื่อให้เป็นเครื่องมือสร้างสรรค์และฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ให้เยาวชนเหล่านี้ให้เป็นผู้ที่มีความเก่ง ฉลาด ทั้งทางด้านศาสตร์และศิลปอย่างเต็มรูปแบบ STEM/STEAM EDUCATION คือเครื่องมือสำคัญที่เรานำมาใช้กับเยาวชนในยุคนี้ ถ้าว่าไปแล้ว STEAM Education ก็เป็นแนวคิดการศึกษาที่ต่อยอดไปจากการศึกษาแบบ STEM นั้นเอง ซึ่งในการบูรณาการกิจกรรมหรือการศึกษาต่าง ๆ จะมีลักษณะที่เชื่อมโยงกัน การบูรณาการด้านความรู้ทางวิทย์ คณิต เทคโนโลยี และวิศวกรรม มีความสำคัญ หากแต่จะดียิ่งขึ้นถ้ามีศิลปะช่วยเสริมเรื่องความคิดสร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจ ความสุขในการเรียนรู้ สู่การเติบโตอย่างสมดุล การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ด้วยความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) อาจนำไปสู่วินัยในการเป็นนักวิทยาศาสตร์ และเพิ่มพูนทักษะในการแก้ปัญหา หายเรามองย้อนกลับไปกระบวนการทาง STEM ในหลาย ๆ กิจกรรม จะมีกระบวนการที่ต้องใช้ทักษะความคิดและการออกแบบ อาทิเช่น การทำบัวลอยก็จะมีการให้ปั้นลูกบัวลอยตามรูปร่างที่อาจจะจินตนาการเป็นรูปทรงต่าง ๆ การทำว่าวก็มีการให้ออกแบบโครงหรือตัวว่าวเป็นตัวต่าง ๆ เป็นต้น
       มีข้อมูลกล่าวถึงว่า คนเราแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ พวกใช้สมองข้างซ้าย (left-brained) ซึ่งมีความถนัดทางด้านการคิดการคำนวณ หรือกล่าวคือพวกถนัดทักษะทางด้าน STEM ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นหมอ วิศวะ นักวิทยาศาสตร์ กับ พวกใช้สมองข้างขวา (right-brained) ซึ่งจะถนัดอะไรที่ต้องใช้จินตนาการกับความคิดสร้างสรรค์ เหมาะที่จะเป็นศิลปิน นักการศึกษาที่เชี่ยวชาญด้านนี้มองว่า นักประดิษฐ์ หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคนจากทั่วทุกมุมโลก ไม่ใช่เพียงมีแค่นักวิทยาศาสตร์ แต่ยังมีนักศิลปะด้วย การบูรณาการทั้ง 4 (ทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์) + 1(ทักษะทางศิลปะ) จะทำให้เกิดความคิดแบบองค์รวม (Holistic Way)
       ถ้าจะให้สรุปกันแบบเข้าใจง่าย ๆ เลยก็คือ การฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์โดยใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการบูณาการ พร้อม ๆ ไปกับการบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่กันไป 

PLC

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

       สำหรับดิฉัน ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) นั้นถือเป็นเทคนิควิธีการอย่างหนึ่งที่เป็นการมุ่งพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการสร้างความร่วมมือ ร่วมใจของคณะครูผู้สอน ในการปรึกษาหารือ ในการทำงานเพื่อปรับปรุงแก้ไขผลการเรียนของนักเรียน  เพื่อให้เกิด การขับเคลื่อนทั้งระบบโรงเรียน จึงจำเป็นต้องสร้างความเป็น PLC ที่สอดคล้องกับธรรมชาติทางวิชาชีพร่วมในโรงเรียน ย่อมมีความ เป็นชุมชนที่สัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น ชุมชน ที่สามารถขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพได้นั้น

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) คืออะไร?       ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพหรือ PLC คือ การรวมตัว รวมใจ รวมพลัง ร่วมมือกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา ในโรงเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังที่ Sergiovanni (1994) ได้กล่าวว่า PLC เป็นสถานที่สำหรับ “ปฏิสัมพันธ์” ลด “ความโดดเดี่ยว” ของมวลสมาชิกวิชาชีพครูของโรงเรียน ในการทำงาน เพื่อปรับปรุงผลการเรียนของนักเรียน หรืองานวิชาการ โรงเรียน ซึ่ง Hord (1997) มองในมุมมองเดียวกัน โดยมองการ รวมตัวกันดังกล่าว มีนัยยะแสดงถึงการเป็นผู้นําร่วมกันของ ครู หรือเปิดโอกาสให้ครูเป็น “ประธาน” ในการเปลี่ยนแปลง (วิจารณ์ พานิช, 2555) การมีคุณค่าร่วม และวิสัยทัศน์ร่วมกัน ไปถึงการเรียนรู้ร่วมกันและการนําสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ อย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน การรวมตัวในรูปแบบนี้เป็นเหมือน แรงผลักดัน โดยอาศัยความต้องการและความสนใจของ สมาชิกใน PLC เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ สู่มาตรฐานการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นหลัก (Senge, 1990) การพัฒนา วิชาชีพให้เป็น “ครูเพื่อศิษย์” (วิจารณ์ พานิช, 2555) โดยมองว่า เป็น “ศิษย์ของเรา” มากกว่ามองว่า “ศิษย์ของฉัน”และการ เปลี่ยนแปลงคุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มจาก “การเรียนรู้ ของครู” เป็นตัวตั้งต้น เรียนรู้ที่จะมองเห็นการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อผู้เรียน เป็นสําคัญ
       อย่างไรก็ตามการรวมตัวการเรียน การเปลี่ยนแปลงใดๆ เป็นไปได้ยากที่จะทำเพียงลำพังหรือเพียงนโยบาย เพื่อให้เกิด การขับเคลื่อนทั้งระบบโรงเรียน จึงจำเป็นต้องสร้างความเป็น PLC ที่สอดคล้องกับธรรมชาติทางวิชาชีพร่วมในโรงเรียน ย่อมมีความ เป็นชุมชนที่สัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น (Senge, 1990) ชุมชน ที่สามารถขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพได้นั้น จึงจำเป็นต้องมีอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทางวิชาชีพ มีฉันทะ และศรัทธาในการทํางาน “ครูเพื่อศิษย์ร่วมกัน” บรรยากาศ การอยู่ร่วมกันจึงเป็นบรรยากาศ “ชุมชนกัลยาณมิตร ทางวิชาการ” (สุรพล ธรรมร่มดี, ทัศนีย์ จันอินทร์, และ คงกฤช ไตรยวงศ์, 2553) ที่มีลักษณะความเป็นชุมชน แห่งความเอื้ออาทรอยู่บนพื้นฐาน “อำนาจเชิงวิชาชีพ” และ “อำนาจเชิงคุณธรรม” (Sergiovanni, 1994) เป็นอำนาจที่สร้างพลังมวลชนเริ่มจากภาวะผู้นำร่วมของครูเพื่อขับเคลื่อนการ ปรับปรุงและพัฒนาสถานศึกษา (Fullan, 2005)




กล่าวโดยสรปุ PLC หมายถึง การรวมตัว ร่วมใจร่วมพลัง ร่วมทำ และร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา บนพื้นฐานวัฒนธรรมความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมาย และภารกิจร่วมกัน โดยทำงานร่วมกันแบบทีม เรียนรู้ที่ครูเป็นผู้นำร่วมกัน และผู้บริหารแบบผู้ดูแลสนับสนุน สู่การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพเปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเอง สู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความสำเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนเป็นสำคัญและความสุขของการทำงานร่วมกันของสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) มีความสำคัญอย่างไร?
       ความสำคัญของ PLC จากผลการวิจัยโดยตรงของที่ยืนยันว่าการดำเนินการในรูปแบบ PLC นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพทั้งด้านวิชาชีพและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนจากการสังเคราะห์รายงานการวิจัยเกี่ยวกับโรงเรียนที่มีการจัดตั้ง PLC โดยใช้คำถามว่า โรงเรียนดังกล่าวมีผลลัพธ์อะไรบ้าง ที่แตกต่างไปจากโรงเรียนทั่วไปที่ไม่มีชุมชนแห่งวิชาชีพ และถ้าแตกต่างแล้วจะมีผลดีต่อครูผู้สอนและต่อนักเรียนอย่างไรบ้างซึ่งมีผลสรุป 2 ประเด็นดังนี้

ประเด็นที่ 1 ผลดีต่อครูผู้สอนพบว่า PLC ส่งผลต่อครูผู้สอนกล่าวคือลดความรู้สึกโดดเดี่ยวงานสอนของครู เพิ่มความรู้สึกผูกพันต่อพันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียนมากขึ้น โดยเพิ่มความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติให้บรรลุพันธกิจอย่างแข็งขัน จนเกิดความรู้สึกว่า ต้องการร่วมกันเรียนรู้และรับผิดชอบต่อพัฒนาการโดยรวมของนักเรียนถือเป็นพลังการเรียนรู้ซึ่งส่งผลให้การปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนให้มีผลดียิ่งขึ้น กล่าวคือมีการค้นพบความรู้ และความเชื่อที่เกี่ยวกับวิธีการสอนและตัวผู้เรียนซึ่งที่เกิดจากการคอยสังเกตอย่างสนใจ รวมถึงเข้าใจในด้านเนื้อหาสาระ ที่ต้องจัดการเรียนรู้ได้แตกฉานยิ่งขึ้นจนตระหนักถึงบทบาทและพฤติกรรมการสอนที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด อีกทั้งการรับทราบข้อมูลสาระสนเทศต่างๆ ที่จำเป็นต่อวิชาชีพได้อย่างกว้างขวาง และรวดเร็วขึ้น ส่งผลดีต่อการปรับปรุงพัฒนางานวิชาชีพได้ตลอดเวลา เป็นผลให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาและอุทิศตนทางวิชาชีพเพื่อศิษย์ ซึ่งเป็นทั้งคุณค่าและขวัญกำลังใจต่อการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้นที่สำคัญคือยังสามารถลดอัตราการลาหยุดงานน้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนแบบเก่ายังพบว่ามีความก้าวหน้าในการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับลักษณะผู้เรียนได้อย่างเด่นชัดและรวดเร็วกว่าที่พบในโรงเรียนแบบเก่า มีความผูกพันที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ให้ปรากฏอย่างเด่นชัดและยั่งยืน

ประเด็นที่ 2 ผลดีต่อผู้เรียนพบว่า PLC ส่งผลต่อผู้เรียนกล่าวคือสามารถลดอัตราการตกซ้ำชั้น และจำนวนชั้นเรียนที่ต้องเลื่อนหรือชะลอการจัดการเรียนรู้ให้น้อยลง อัตราการขาดเรียนลดลงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์ประวัติศาสตร์และวิชาการอ่านที่สูงขึ้นอย่างเด่นชัด เมื่อเทียบกับโรงเรียนแบบเก่าสุดท้ายคือมี ความแตกต่างด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มนักเรียนที่มีภูมิหลังไม่เหมือนกันและลดลงชัดเจน


กล่าวโดยสรุป คือ PLC มีพัฒนาการมาจากกลยุทธ์ระดับองค์กรที่มุ่งเน้นให้องค์กรมีการปรับตัวต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเริ่มพัฒนาจากแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้และปรับประยุกต์ให้มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและการเรียนรู้ร่วมกันในทางวิชาชีพ ที่มีหน้างานสำคัญคือความรับผิดชอบการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกันเป็นสำคัญจากการศึกษาหลายโรงเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกาดำเนินการในรูปแบบ PLC พบว่าเกิดผลดีทางวิชาชีพครู และผู้เรียนที่มุ่งพัฒนาการของผู้เรียนเป็นสำคัญ

กลยุทธ์ในการจัดการและใช้ชุมชนแห่งการเรียนทางรู้วิชาชีพ (PLC) อย่างยั่งยืนเป็นอย่างไร?

1. เริ่มต้นด้วยขั้นตอนง่ายๆ (Take a baby steps) โดยเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมาย อภิปราย สะท้อนผล แลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆ เพื่อกำหนดว่า จะดำเนินการอย่างไร โดยพิจารณาและสะท้อนผลในประเด็นต่อไปนี้

1.1 หลักการอะไรที่จะสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติ

1.2 เราจะเริ่มต้นความรู้ใหม่อย่างไร

1.3 การออกแบบอะไรที่พวกเราควรใช้ในการตรวจสอบหลักฐานของการเรียนรู้ที่สำคัญ

2. การวางแผนด้วยความร่วมมือ (Plan Cooperatively) สมาชิกของกลุ่มกำหนดสารสนเทศที่ต้องใช้ในการดำเนินการ
3. การกำหนดความคาดหวังในระดับสูง (Set high expectations) และวิเคราะห์การสอนสืบเสาะหาวิธีการที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จสูงสุด

3.1 ทดสอบข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับการสอนหลังจากได้มีการจัดเตรียมต้นแบบที่เป็นการวางแผนระยะยาว (Long-term)
3.2 จัดให้มีช่วงเวลาของการชี้แนะ โดยเน้นการนำไปใช้ในชั้นเรียน
3.3 ให้เวลาสำหรับครูที่มีความยุ่งยากในการสังเกตการณ์ปฏิบัติในชั้นเรียนของครูที่สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้อย่างประสบผลสำเร็จ

4. เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ (Start small) เริ่มต้นจากการใช้กลุ่มเล็กๆ ก่อน แล้วค่อยปรับขยาย
5. ศึกษาและใช้ข้อมูล (Study and use the data) ตรวจสอบผลการนำไปใช้และการสะท้อนผลเพื่อนำมากำหนดว่า แผนไหน ควรใช้ต่อไป/แผนไหนควรปรับปรุงหรือยกเลิก
6. วางแผนเพื่อความสำเร็จ (Plan for success) เรียนรู้จากอดีต ปรับปรุงหรือปฏิเสธในสิ่งที่ไม่สำเร็จ และทำต่อไป ความสำเร็จในอนาคต หรือความล้มเหลวขึ้นอยู่กับเจตคติและพฤติกรรมของครู
7. นำสู่สาธารณะ (Go public) แผนไหนที่สำเร็จก็จะมีการเชิญชวนให้คนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ยกย่องและแลกเปลี่ยนความสำเร็จ
8. ฝึกฝนร่างกายและหล่อเลี้ยงสมอง (Exercise the body & nourish the brain) จัดกิจกรรมที่ได้มีการเคลื่อนไหวและ เตรียมครูที่ทำงานสำเร็จของแต่ละกลุ่มโดยมีการจัดอาหาร เครื่องดื่มที่มีประโยชน์
ลำดับต่อไปจะได้กล่าวถึงเทคนิคที่ใช้ในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนทางรู้วิชาชีพ (PLC) ที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางสำหรับการสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมได้…

Kahoot กับการจัดการเรียนรู้

การนำ Kahoot มาใช้ในการจัดการเรียนรู้       โปรแกรม Kahoot นั้นสำหรับดิฉัน  ถือเป็นโปรแกรมที่น่าสนใจมากเหมาะสำหรับกระตุ้นและดึงดูดค...